คุณสมบัติการป็นนักวาดการ์ตูน

----------------- กลุ่มบุคลิกภาพ ----------------- แบบที่ 1 จริงจังไม่คิดฝัน นิยมความจริง แบบที่ 2 ใช้เชาว์ปัญญา แบบที่ 3 มีศิลปะ แบบที่ 4 ชอบสมาคมสังคมกับบุคคลอื่น แบบที่ 5 กล้าคิดกล้าทำ แบบที่ 6 ทำตามระเบียบแบบแผน

นักเขียนการ์ตูน
หน้าแรก กลุ่มที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ (Artistic)
ชื่ออาชีพ
นักเขียนการ์ตูน Cartoonist
รหัสอาชีพ
1-61-50 (TSCO) 2452(ISCO)
นิยามอาชีพ
นักเขียนการ์ตูนจัดว่าเป็นศิลปินผู้สร้าง และเขียนหรือวาดภาพการ์ตูน จากจินตนาการหรือ จากแบบ สำหรับผู้ที่วาดภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ ซึ่งโดยปกติมักเป็นภาพล้อ ( Caricature ) เพื่อใช้ประโยชน์ และสื่อสาร ในสื่อต่างๆ นั้นเรียกว่า ผู้เขียนภาพล้อเลียน ( Caricaturist )
ลักษณะของงานที่ทำ
นักเขียนการ์ตูนจะสร้างสรรค์ กำหนดลักษณะของตัวการ์ตูนแต่ละตัวตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และวาดตัวการ์ตูนด้วยดินสอ ลงด้วยหมึก และสีตามต้องการด้วยสีจริง และสีจากโปรแกรมการวาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ให้เข้ากับแนวเนื้อเรื่องที่วางกรอบไว้ เพื่อนำไปใช้พิมพ์แล้วจำหน่าย หรือด้วยวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ
งานการ์ตูนสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการโฆษณารณรงค์โครงการ หรือประชาสัมพันธ์เพื่อรับใช้ชุมชน และสังคม ใช้เป็นสื่อทางพาณิชย์ หรือใช้เป็นสื่อสำหรับเรื่องราวที่อ่านเพลิดเพลินได้ทั้งเด็กผู้ใหญ่ และใช้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก และเยาวชน
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา งานการ์ตูนได้รับการถ่ายทอดลงบนฟิล์มภาพยนตร์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ช่วยทำงานในส่วนที่ต้องมี รายละเอียด ซึ่งมีขั้นตอนหลายมิติ ตามกระบวนการผลิตและการถ่ายทำช่วยทำให้ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวเหมือนจริงและสวยงามมากขึ้น หรือที่เรียกว่าภาพเอนิเมชั่น (Animation) ซึ่งในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนต้องการนักวาดการ์ตูนมากขึ้น คือใช้ภาพประมาณ 16 - 24 ภาพในแต่ละท่วงท่าของการเคลื่อนไหว หรือปรับให้ทันสมัย ใช้เป็นต้นแบบประกอบในการวาดการ์ตูนการเล่นทางคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
สภาพการจ้างงาน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะได้เงินเดือนประจำ เงินรับเหมาเป็นเรื่อง และค่าตอบแทนเป็น แบบซื้อลิขสิทธ์ เงินจากการพิมพ์หนังสือการ์ตูนขายเอง หรือจากส่วนแบ่งจากยอดขายจากสำนักพิมพ์ที่นำการ์ตูนไปพิมพ์ และจัดจำหน่าย สำหรับนักการ์ตูนการเมืองจะได้ค่าเขียนรูปละประมาณ 2,000 - 4,000 บาท
นักเขียนการ์ตูนในส่วนของภาพยนตร์การ์ตูนอาจได้รับเงินค่าจ้าง วันละประมาณ 280 - 300 บาท บางแห่งอาจจ่ายเป็นเงินเดือนเดือนละประมาณ 8,500 บาท
นักเขียนการ์ตูนมีการทำงานค่อนข้างเป็นอิสระ เพราะทำงานเป็นชิ้นหรือรับเหมาทั้งงาน และต้องทำงานให้เสร็จทันเวลาตามข้อตกลง
สภาพการทำงาน
นักเขียนการ์ตูนอาจทำงานในสถานที่ทำงานสำนักพิมพ์ หรือสตูดิโอ เพื่อสร้างสรรค์งานตามที่ ผู้ว่าจ้างต้องการ ซึ่งอาจต้องนำเสนอรูปแบบของงานต่างๆ มากกว่า 1 ชิ้นงาน
สามารถสร้างผลงานอยู่ที่บ้านตามความต้องการของศิลปิน แล้วนำผลงานไปเสนอขายให้กับผู้จัดพิมพ์ หรือผู้ผลิตได้ โดยต้องใช้สมาธิในการทำงานสูง มีความตั้งใจที่แน่วแน่ และเสร็จตามกำหนดเวลาที่ได้วางไว้
นักเขียนการ์ตูนการเมืองอาจนั่งทำงานที่บ้าน ทำงานในต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ แล้วส่งงานการ์ตูนที่วาดเสร็จแล้วผ่านอินเตอร์เน็ตเข้าสู่กองบรรณาธิการ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีใจรักงานวาดการ์ตูน มีจินตนาการ
2. มีทักษะและฝีมือในการสร้างสรรค์ ลายเส้นการ์ตูน
3. มีความเพียร อดทน ความขยัน ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและเวลา
4. เข้าใจสภาพเงื่อนไขทางธุรกิจ
5. เป็นคนสนใจใฝ่หาความรู้ทางด้านศิลปะ ไม่หยุดนิ่ง และช่างสังเกต
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปและ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องกับอาชีพผู้จบการศึกษาขั้นต่ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - 6 มีความรู้พื้นฐานทางด้านศิลปะ สามารถเข้ารับการฝึกทักษะได้จากโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้โดยเฉพาะหรือเรียนจากนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ ปัจจุบันเปิดสอนและอบรมกันเป็นที่แพร่หลาย หรือเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้โดยเฉพาะ
โอกาสในการมีงานทำ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักวาดการ์ตูนไทยก็ได้รับการว่าจ้างจากสำนักพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานในการวาดภาพการ์ตูน ที่พิมพ์ออกจำหน่ายมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกเช่นกันอย่างเช่น ดรากอนบอลล์ และสำนักพิมพ์ไทยเอง ก็ให้ความสนใจหาผู้ที่เขียนการ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องตามตลาดต้องการ เป็นจำนวนมาก นับเป็นอีกก้าวหนึ่ง ของการ์ตูนไทยที่สามารถก้าวข้ามจากงานการ์ตูนภาพล้อเข้าสู่ธุรกิจสื่อการ์ตูน
ปัจจุบัน บริษัทผลิตภาพยนตร์การ์ตูนเพื่อการส่งออก (เช่น ฮอลลีวู้ด) และ สำนักพิมพ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องการผู้เขียนการ์ตูนที่นำเสนอการ์ตูนเป็นเรื่องๆ และเป็นแนวตามที่ตลาดต้องการสำหรับเด็ก และเยาวชนไทยเป็นจำนวนมาก แต่ผู้มีความสามารถในการเขียนการ์ตูนยังมีจำนวนจำกัด จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้สนใจประกอบอาชีพนี้ จะได้เรียนรู้และฝึกหัดการเขียน เพื่อประกอบอาชีพนี้ต่อไป
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ปัจจุบัน หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาเหมือนนวนิยายของต่างประเทศเป็นที่นิยมกัน แพร่หลายในหมู่เด็กนักเรียนและเยาวชนไทย ทางสำนักงาน ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้รณรงค์ให้มีการประกวดหนังสือการ์ตูน หรือนิตยสารการ์ตูนที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย โดยมีการจัดมอบรางวัลสำหรับผู้วาดได้ดี มีเนื้อหาสร้างสรรค์ นอกจากนี้องค์กรเอกชน ที่ทำธุรกิจทางด้านบันเทิง ก็มีการจัดให้มีประกวดส่งเสริมการวาดภาพการ์ตูนกันเป็นที่แพร่หลาย
นับว่านักวาดภาพการ์ตูนไทยกำลังจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและ กำลังเริ่มต้นไปในทิศทางที่ดี เพราะเยาวชนไทยหันมาอ่านหนังสือการ์ตูนกันมากขึ้น และได้มีการแสดงออกทางด้านฝีมือกันมากขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จัดทำพระราชนิพนธ์พระมหาชนกฉบับการ์ตูนเพื่อถ่ายทอดปรัชญา เรื่องราวของความเพียร ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่ารวมทั้งเยาวชนได้อ่านกันอย่างทั่วถึง ซึ่งโปรดให้วาดโดยชัย ราชวัตร นักเขียนการ์ตูนสังคม และการเมืองผู้มีชื่อ และทีมงาน นับเป็นนิมิตที่ดีของวงการการ์ตูนไทย และถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของการ์ตูนไทยที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีจำนวนพิมพ์ประมาณ 2 แสนฉบับ ในเวลาเพียง 2 เดือน
จากการขยายตัวของสื่อ และสื่อมวลชนทำให้การ์ตูนได้รับความสนใจและได้รับการบรรจุเป็น หนึ่งในเนื้อหาสำหรับบริการความบันเทิง และเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านหรือผู้ชมมากขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นแนวโน้มที่ดีที่มีบริษัทต่างๆ ว่าจ้างนักเขียนการ์ตูนในองค์กรธุรกิจมากขึ้น
นอกจากนี้นักเขียนการ์ตูนยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตัวการ์ตูนออกมาเป็นตุ๊กตาผ้า หรือในรูปแบบพวงกุญแจ ของที่ระลึก ฯลฯ ตามที่ลูกค้าเสนอและว่าจ้างให้จัดทำเป็นสินค้าสำหรับแจกเป็นของชำร่วย เป็นต้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ครู - อาจารย์ ผู้ผลิตรายการ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผู้ผลิตภาพยนตร์การ์ตูน

เทคนิกการวาดการตูน

1. รูปหน้า เริ่มจากการ ลองวาดรูปหน้าแบบที่ถนัด
เช่น
หรือ เป็นต้น
2. คิ้ว คิ้วเป็นส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่งในหน้า
เช่น
คิ้ว ส่วนมากผู้ชายจะคิ้วหนาหน่อย ส่วนผู้หญิงคิ้วจะบางกว่า เพื่อให้ดูอ่อนหวานน่ารัก คิ้วเป็นส่วน หนึ่ง ที่เสริมบุคคลิกของตัวการ์ตูน ลองวาดหลายๆแบบ แล้วเปรียบเทียบดูแต่ละแบบ จะเห็นว่าคิ้วแต่ละแบบ นั้น จะช่วยสร้างบุคลิคที่หลากหลายให้ตัวการ์ตูนได้
3. ตา ช่วยบ่งบอกบุคลิคของตัวการ์ตูนของเราได้

ถ้าจะวาดตัวการ์ตูนให้ดูกระจุ๋มกระจิ๋ม น่ารัก ต้องวาดตาโตๆ แบบรูปแรก แต่อย่าโตมากจนโอเวอร ์นะคะ เอา แบบ พอดีๆ ถ้าไม่รู้ว่าพอดีรึยัง ลองถามเพื่อนที่อยู่ข้างๆก็ได้ หรือถ้าอยากวาดตัวการ์ตูนที่ดู คม เข้ม ก็วาด ตาให้ดูเรียวเล็ก ใช้ได้ทั้งตัวการ์ตูนทั้งหญิงและชายครับ

การวาดหน้านั้น ถ้าอยากวาดให้ดูน่ารัก ควรจะวาดหน้าให้ออกกลมๆ ถ้าจะให้สวยต้องหน้าแบบเรียวๆ แต่ถ้าอยาก ให้หน้า ดู เข้มๆหรือโหดๆ ก็วาดให้หน้าดูเหลี่ยมๆหน่อย ลองวาดดูนะครับ

บางคนเวลาวาดหน้า วาดหน้ายังไงก็รู้สึกว่ามันเบี้ยวทุกที ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ

1. วาดรูปไม้กางเขนคว่ำ


2. วาดรูปตัว U โดยให้ส่วนที่โค้งติดขอบไม้กางเขน ดังภาพ
ลองฝึกวาดบ่อยๆแล้วจะคล่องขึ้นเองครับ


สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ
1. ถ้าตา 2ชั้น จะมีเส้น 1 เส้นเหนือตา ถ้าจะวาดตาชั้นเดียว ก็ไม่ต้องมีเส้น เหนือตา
2. ตาควรจะมีแววตา ( ส่วนที่เป็นจุดขาวในตาดำ ) เพื่อให้ตัวการ์ตูนมีชีวิตชีวา
3. ถ้า หางตาชี้ขึ้น จะดูหยิ่ง หางตาตก จะดูขี้กังวล

4. จมูก วาดตามใจชอบเลยครับ
เช่น

เรื่องจมูกเนี๊ยะ ความจริง Lovejung เองก็ไม่ค่อยสันทัดซักเท่าไหร่นัก ปกติLovejung จะใช้แบบรูป ที่เห็นตรงกลาง ส่วนแบบแรก จะเห็นมาก ทั้งในการ์ตูนผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนแบบที่สามจะเห็นใช้บ่อยในการ์ตูนแบบที่ ตัวละครส่วนใหญ่หน้าออกกลมๆ

5. ปาก

เช่น

ปากสามารถบ่งบอกอารมณ์ของตัวการ์ตูนได้ แสดงถึงคำพูดของตัวการ์ตูน เช่น ถ้าตัวการ์ตูนกำลัง ตะโกนอยู่ ปากก็ควรจะอ้ากว้างๆ ลองวาดหลายๆแบบแล้ว เปรียบเทียบกันดูนะครับ

ตำแหน่งอวัยวะบนใบหน้า

บางคนเวลาวาดหน้า อาจจะรู้สึกว่า หน้าตัวการ์ตูน ดูไม่ค่อยสมส่วน ดูแล้วคัดๆตา แต่ก็ไม่รู้จะแก้ยังไง ลองดูนะครับ ว่า อวัยวะต่างๆ บนใบหน้า นั้น ควรจะอยู่ตรงจุดไหนบ้าง


1. วาดคิ้ว ซึ่งคิ้วจะอยู่เหนือ เส้นที่1
2. ตา จะอยู่บริเวณ เส้นที่1 กับ เส้นที่2
3. จมูก อยู่ใต้เส้นที่2
4. ปาก อยู่ตรง เส้นที่3
5. หู ส่วนบนสุดของหู จะตรงกับหางคิ้ว ติ่งหูจะอยู่ตรงกับ ตำแหน่งของจมูก

ใบหน้าในมุมต่างๆ

ในการวาดการ์ตูน เราจะไม่ได้วาดแค่ มุมใดมุมหนึ่ง แต่เราจะได้วาดหลายๆมุม แต่บางที มุมที่ต้องการจะวาด วาดยังไง ก็วาดไม่ได้ ปัญหานี้ เป็นปัญหาที่คนพึ่งหัดวาดการ์ตูน กลุ่มใจ บทนี้จึงจะมาเขียนเรื่องการวาดหน้ามุมต่างๆ ดูที่ข้างล่างเลยครับ

เพื่อให้ตัวละครเคลื่อนไหวได้อย่างสมจริง ในการวาดตัวการ์ตูน จึงควรให้แสดงกิริยาได้ทุกมุมมอง เพื่อให้เข้าใจง่าย ให้ดูหน้าเป็นวงกลม ดังรูปตัวอย่างข้างล่าง ซึ่งแสดงถึงหน้าทรงกลม ในมุมต่างๆ

หน้าด้านตรง

ตาซ้ายขวา ต้องได้สัดส่วน
จมูก กับ ปาก อยู่กึ่งกลาง หูอยู่ระหว่างคิ้ว กับ จมูก
หันข้างเงยหน้านิดหน่อย
ตา จมูก ปาก อยู่ตามแนว เส้นกากบาท หู จะอยู่ต่ำลงมา เพื่อให้ดูเงยหน้าขึ้น หน้าเงยขึ้นข้างบน
ตา จมูก ปาก จะอยู่ ในตำแหน่ง ที่ สูงขึ้น จมูกจะเชิดขึ้น หัวจะแคบช่วงคาง จะสูง หูจะอยู่ต่ำ (ล่างเส้น กากบาท) หน้าก้มลง
จะตรงข้ามกับหน้าเงยขึ้น หัวจะกว้าง ตา จมูก ปาก จะอยู่ต่ำ หูจะอยู่สูง


การวาดอารมณ์ของตัวการ์ตูน

การแสดงอารมณ์ ของ ตัวการ์ตูน ทำให้การ์ตูน มีชีวิต ชีวา ขึ้น สิ่งหนึ่ง ที่จะช่วยให้วาด การแสดงอารมณ์ ทางใบหน้า ได้เก่ง เริ่มจาก การวาดเลียนแบบ จากการ์ตูนที่ชอบ และก็ใส่ความรู้สึกเค้าไป แล้วก็ฝึกวาดบ่อยๆ
ตัวเอง เวลาวาดอารมณ์ ของตัวการ์ตูน ชอบเผลอ ทำหน้าตามตัว การ์ตูน ที่ตัวเองวาดทุกที ไม่รู้เป็นอะไร คงเป็นเพราะ ใส่อารมณ์กับ ตัวที่ ตัวเองวาด มากไป ละมั๊ง!
การวาดอารมณ์ ถ้าวาด ในมุมต่างๆ กัน ก็ จะให้ ความรู้สึก ที่ แตก ต่าง กัน ได้อีกด้วย ซึ่ง การวาดในมุมต่างๆ ถ้าเราเลือกมุมให้ดีๆ จะช่วย เพิ่ม เสน่ห์ให้กับตัวการ์ตูนได้เพิ่มขึ้นเป็นกอง
ลองมาดูตัวอย่างที่ได้ทำ เอาไว้ดูนะครับ

หน้าหัวเราะ
ปาก ยิ่งอ้ากว้าง
ตาก็ จะ ยิ่งเล็ก ลง
หน้าร้องไห้อย่างดีใจ
ปาก ยิ้มนิดๆ มีน้ำตาไหล นิดนึง พองาม ท่าทาง อายนิดๆ กำลังดี หน้ามุ่งมั่น
หน้า เชิดขึ้นเล็กน้อย ยิ้มเล็กๆ อย่าง มีชัย หางคิ้วเชิดขึ้น
หน้าเศร้า
ก้มหน้านิดนึง หางคิ้วตก หัวคิ้วขมวด นิดนึง ปาก เกือบเป็นเส้นตรง วาดปากเล็กๆ (โค้งลงนิดนึง) ตามองต่ำ


หน้าโกรธ

หัวคิ้วขมวด นิดนึง หางคิ้วชิ้ขึ้น ปากอ้ากว้าง สำหรับการ พูด หรือ ตะโกนเสียงดัง
หน้าหงุดหงิด
ปากโค้งลง คิ้วขมวด ก้มหน้านิดๆ เหมือนไม่อยากคุยกับใคร
หน้าตกใจ
ตาควรวาด โตๆ แบบเบิ่งตา กว้าง อ้าปากค้าง เพิ่มเงาลงไป จะช่วยเพิ่มความ สมจริงขึ้น



Macross Frontier (มาครอส ฟรอนเทียร์) เป็น Anime การ์ตูนญี่ปุ่น แนว วิทยาศาสตร์ เหนือจินตนาการ เป็นเรื่องราว กล่าวถึงเวลา นานแสนนานแล้ว ที่มนุษย์ ท่องเที่ยวไปมาใน อวกาศ ซึ่ง มนุษย์นั้น อาศัยบนสถานที่ที่เรียกว่า Space Colony (สเปก โคโลนี่)

Anime เรื่อง Macross Frontier เป็น ภาคหนึ่ง ใน ซี่รี่ อันโด่งดัง สุดๆ ของ ตระกูล Macross (มาครอส) ภาพยนตร์ อนิเมชั่น ซื่งมี หลากหลายภาค มีเนื้อเรื่อง ปริศนา ที่ ซับซ้อนซ่อนเงื่อน และ สนุกสนาน ซึ่ง ในภาคใหม่นี่ สร้างสรรค์ขึ้น เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบ 25 ปี ของ ซีรี่ Macross

Macross Frontier สร้างโดย สตูดิโอ Satelight ออกฉาย ทางทีวี ที่ประเทศ ญี่ปุ่น ตอนแรก วันที่ 3 เมษายน 2008 และ ตอนสุดท้าย 25 กันยายน 2008 จำนวน รวม ตอนทั้งหมด 25 ตอนจบ และ มี ภาคพิเศษ OVA อีกหลากหลาย ตอน รวมทั้งเป็น หนังสือการ์ตูน มังงะ และสร้างเป็น วีดีโอเกม

Macross Frontier รางวัล การ์ตูนญี่ปุ่น ทีวี Anime ยอดเยี่ยม ปี 2009 (Tokyo Anime Award 2009) จุดโดดเด่นของ อนิเมชั่น เรื่องนี้ จนได้รับ รางวัล คือ ส่วนเสริม รายระเอียดเล็กๆ สิ่ง ประกอบต่างๆ ของ ผลงาน อนิเมชั่น ที่สร้างสรรค์ ออกมาได้อย่าง ยอดเยี่ยม เช่น ด้านภาพ มีการใช้ เทคนิค สามมิติ เต็มรูปแบบ กับการ สร้างสรรค์ ผสม 3D ลง ใน ภาพ 2D ด้าน ดนตรี ประกอบ ทำได้ อย่าง ไร้เทียมทาน ทั้ง OST หรือ ผลงานเพลง Single นักร้อง ที่ได้รับ รางวัล มากมาย

เนื้อเรื่อง: ในซีรีส์ มาครอสฟรอนเทียร์ นั้น เริ่มในปี ค.ศ. 2059 เป็นเวลาหลังจากเนื้อเรื่อง ในซีรีส์ มาครอสเซเว่น 14 ปี โดยที่เรื่องนี้ จะเกี่ยวข้องกับกองยาน อาณานิคมของ UN Spacy ลำใหม่ที่ชื่อว่า มาครอสฟรอนเทียร์ และการปรากฏตัวของเครื่องบินรบวัลคีรี (Valkyrie Fighter) รุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าประจำการ วีเอฟ-25 (VF-25) เรื่องราวเิริ่มต้น ในกลุ่มอาณานิคมอพยพที่ 25 ที่ถูกเรียกว่า กองยานอาณานิคมมาครอสฟรอนเทียร์ ถูก โจมตีด้วยศัตรูลึกลับในขณะที่ เชอริล โนม กำลังแสดงคอนเสิร์ตอยู่ ทำให้คอนเสิร์ตต้องยกเลิกกลางคัน…

รางวัลเด่นๆ ที่ได้รับ

รางวัล Anime ประเภท TV Serie ยอดเยี่ยม จากงาน Tokyo International Anime Fair (TAF) 2009 รางวัล Anime ประเภท Best Music เพลง ประกอบยอดเยี่ยม ไรเที่ยมทาน เพราะ แบบ สุดๆ (ถ้าแปลออก)

รางวัลเด่นๆ ที่ได้รับ

รางวัล Anime ประเภท TV Serie ยอดเยี่ยม จากงาน Tokyo International Anime Fair (TAF) 2009 รางวัล Anime ประเภท Best Music เพลง ประกอบยอดเยี่ยม ไรเที่ยมทาน เพราะ แบบ สุดๆ (ถ้าแปลออก)

การสร้างการ์ตูนเคลื่อนไหว



ขั้นตอนการสร้าง การ์ตูนเคลื่อนใหว(อนิเมชั่น)
บทความประมาณนี้ผมเองก็ได้เขียนไปหลายๆเวปบอร์ดเหมือนกัน แต่ทุกครั้งที่เขียนข้อมูลก็จะแน่นขึ้นเรื่อยๆเพราะงั้นครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่เขียน แต่ก็ดีกว่าที่เขียนก่อนหน้า. ทั้งนี้ขั้นตอนหลักๆทั้งหมดก็ใกล้เคียงกัน

อนิเมชั่นคือการนำถาพมาซ้อนกันให้เกินการเคลื่อนใหวขึ้น ส่วนกี่ภาพต่อ 1 วินาทีก็แล้วแต่สตูดิโอกำหนด. หลายๆคนชอบคิดว่าคนที่วาดการ์ตูนได้ก็น่าจะวาดภาพเคลื่อนใหวได้สิ อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด คนที่วาดการ์ตูนไม่จำเป็นต้องวาดภาพเคลื่อนใหวได้ และในทางกลับกัน คนวาด ภาพเคลื่อนใหวก็ไม่จำเป็นต้องวาดการ์ตูนได้เช่นกัน, อยากให้เข้าใจกันใหม่ เหตุผลที่ทำให้เข้าใจผิดเพราะพื้นฐานนั้นเหมือนกัน คือการวาด.

ก่อนที่เราจะมาเริ่มการสร้าง อนิเมชั่น นั้น เราต้องมีการวางแผนก่อน ไม่ว่า เนื้อเรื่อง, เสียง, อุปกร์ณการวาด, โปรแกรม ที่ใช้งานในการตัดต่อ. ทำไมต้องวางแผน ต้องเตรียมการ? หากมีการเตรียมการ จะเป็นการสะดวกทำให้เรารู้ว่าจะทำอะไรต่อเป็นขั้นๆไป

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหนังหรืออนิเมชั่น ต้องรู้ไว้ก่อนเลยว่า ไม่สามารถทำเสร็จในขั้นตอนเดียว โปรแกรมเดียว ต้องมีการนำมาผสมผสานกันด้วย.

1. IDEA - ความคิด แนวคิด
ขั้นตอนแรกในการทำเลยคือ คิด คิดว่าจะทำเรื่องอะไร ทำยังไง จบยังไง น่าสนใจยังไง ขนาดที่จะทำ ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องสนใจเทคนิกในการสร้าง เพียงแค่ระดมความคิดต่างๆเอามารวมกัน แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนทุกอย่าง เขียนแค่ตัว หลักๆ ใว้

2.1 STORY - เนื้อเรื่อง
หลังจากได้แนวความคิดตอนนี้ก็มาเขียนเนื้อเรื่อง โดยเอาแนวคิดหลักๆมาขยายความ ในการเขียนเนื้อเรื่องตอนนี้ก็เหมือนกับเขียนนิยาย คิอไม่ใช่มีแต่เนื้อเรื่อง ต้องมีบทพูดด้วยเช่นกัน ไล่เป็นฉากๆ บทๆ ไป ขั้นตอนนี้ เอกสารจะเป็น แค่ ตัวอัก`ษรเท่านั้น. เพิ่มเติม บ.อนิเมชั่นที่ญี่ปุ่น การนำการ์ตูนเอามาทำอนิเมชั่นเค้าก็เขียนบทขึ้นมาใหม่อีกรอบโดยมี เนื้อเรื่องในการ์ตูนเป็นพื้นฐาน. พอได้เนื้อเรื่องก็จะนำเอามาให้ทีมงานอ่านกันเพื่อแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น คำพูด เนื้อเรื่อง ว่าเหมาะสมกับกลุ่มมั้ย ไม่ใช่สักแต่ว่าเขียนไป. 2.2 STORY BOARD - สตอรี่บอร์ด
นำเนื้อเรื่องที่ทำการเรียบเรียง มาให้ทีมงานอ่านกัน เพื่อเอาไปเขียนสตอรี่บอร์ด, คนที่เขียนสตอรี่บอร์ดไม่จำเป็นต้องมีแค่คนเดียว แบ่งงานเป็น ฉากๆไป. ขั้นตอนนี้นั้น คือการนำเอาเนื้อเรื่องมาวาดเป็นภาพ มาเรียงต่อกันเป็นฉากๆ แล้วเอามาแปะใว้บนที่บอร์ด(ถึงเรียกว่า สตอรี่บอร์ด). แล้วเอามาเขียนมาแก้กันเพิ่มมุมมองฉากใหน แก้มุมใหน ขั้นตอนนี้จะสำคัญเพราะมีผลสืบเนื่องถึงขั้นตอน วาด อนิเมชั่น ถ้าทำไม่ดี จะเป็นปัญหาอย่างมาก.

3 AUDIO and SOUND - เสียง
เมื่อเอาสตอรี่บอร์ดมาเรียงกันเป็นหนังอย่างหยาบๆ (หรือที่คนเรียกกันอย่างหรูว่า อนิเม-ทริก ความละเอียดตรงนี้ขึ้นอยู่กับตอนวาดสตอรี่บอร์ดว่าละเอียดขนาดใหน)แล้วเอามาอัดเสียง ไม่ว่าจะเสียงพาค์ย เสียงเอฟเฟค เสียงฉากหลัง ทำให้หมด. มันจะเป็นการง่ายมาก หากเราทำเสียงแล้ว มาวาดให้ตรงกับเสียง มากกว่า ทำเสียงให้ตรงกับภาพ.


4. ANIMATE - วาดรูปเคลื่อนใหว
เมื่อได้เสียงเราก็นำเสียงมาดูความยาว ตามช่วงเวลา เพื่อนำมาวาด. ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความ อดทน กับ ความมุ่งมั่น ในการทำเพราะเรื่องที่มีความยาว ครึ่งชั่วโมง ก็ต้องวาด 3000 รูปโดยประมาณ. ทั้งนี้ในการวาดในขั้นนี้ ต้องอาศัยการศึกษาและเทคนิกต่างๆ ไม่ว่าจะตัดเส้น ลงสี หรือ การเคลื่อใหวของสถานที่และตัวละคร.

5. EDIT - แก้ไข
หลังจากวาดอนิเมชั่นแล้ว ตัวหนังยังแยกกันเป็นส่วนๆ ในขั้นตอนนี้จะนำมาต่อรวมกัน เพื่อเป็นหนังใหญ่. แล้วต้องนำมาดูกันเพื่อ พิจารณาว่า ทั้งเนื้อเรื่องดูลงตัวมั้ย ต้อง ตัดฉากใหนออก. ในขั้นตอนนี้มีหนังอนิเมชั่นไม่น้อย ที่ต้องตัดออกไป 3-4 ฉาก เพื่อความลงตัว ให้เหมาะสม.

6. FINAL OUTPUT - การผลิดขั้นสุดท้าย
เมื่อ หนัง ทั้งเรื่อง เสร็จเป็นอันที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็สู่การนำไปแสดงหรือเผยแพร่. ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดทำว่าจะเอาไปทำอะไร(ที่คิดใว้ในขั้นตอนที่ 1 แนวคิด) ส่วนมากคือการนำงานไปเสนอตาม บ. ต่างๆเพื่อ นำไป เผยแพร่ หรือ นำไปผลิต ก็ตามแต่ นโยบายของผู้จัดทำ.

เพิ่มเติม
ความละอียด และ ขนาด นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการนำไปใช้เพื่อทำอะไรนั้น ขนาดจะไม่เท่ากัน อย่าง ฉายในจอเงิน จอแก้ว ในเวป หรือ แม้แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์.

ขั้นตอนทั้งหมดนี้อาจจะไม่สำคัญถึงขนาดคอขาดบาดตาย แต่ว่า ขั้นตอนทั้งหมดนั้นจะช่วยในการ ทำงานให้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก ขนาด
ที่ว่า เกือบครึ่งนึงของเวลาทั้งหมด เลยทีเดียว.